ระดับปวช.
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอเซีย
ประวัติวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอเซีย
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอเซีย ตั้งอยู่เลขที่ 288 หมู่ที่ 1 ซอยพัฒนาชนบท 4 ถนนร่มเกล้า แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10540 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอเซีย เริ่มจากความคิดริเริ่มของคณะกรรมการสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทยที่ได้เล็งเห็นความสำคัญ ต่อการพัฒนาการศึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของเยาวชนของชาติ คณะกรรมการสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย จึงมีแนวความคิดที่จะจัดตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษา เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพ เพื่อให้มีการพัฒนาสังคมในอนาคต
ในปี ค.ศ.1995 (พ.ศ.2538)คณะกรรมการบริหารสมาคมโดยมีนายมงคลมหกิจไพศาล เป็นนายก ได้นำวัตถุประสงค์ดังกล่าวจัดทำเป็นโครงการและกำหนดแผนงานอย่างชัดเจนโดยเริ่มจากมูลนิธิ มหกิจไพศาลได้มีหนังสือแสดงความจำนงบริจาคที่ดินในเขตถนนร่มเกล้า 1เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ จำนวน 4 ไร่ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2538 เพื่อมอบให้สมาคมฯ ทำการก่อสร้างเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษา เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 3 กรกฏาคม 2539 และดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยในวันที่ 28 ตุลาคม 2541 ใช้เวลาก่อสร้าง 848 วัน ตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 6 ชั้น รวมเนื้อที่ก่อสร้างทั้งหมด 12,923 ตารางเมตร ใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนพณิชยการเอเซีย"
ในปี ค.ศ.1995 (พ.ศ.2538)คณะกรรมการบริหารสมาคมโดยมีนายมงคลมหกิจไพศาล เป็นนายก ได้นำวัตถุประสงค์ดังกล่าวจัดทำเป็นโครงการและกำหนดแผนงานอย่างชัดเจนโดยเริ่มจากมูลนิธิ มหกิจไพศาลได้มีหนังสือแสดงความจำนงบริจาคที่ดินในเขตถนนร่มเกล้า 1เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ จำนวน 4 ไร่ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2538 เพื่อมอบให้สมาคมฯ ทำการก่อสร้างเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษา เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 3 กรกฏาคม 2539 และดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยในวันที่ 28 ตุลาคม 2541 ใช้เวลาก่อสร้าง 848 วัน ตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 6 ชั้น รวมเนื้อที่ก่อสร้างทั้งหมด 12,923 ตารางเมตร ใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนพณิชยการเอเซีย"
โรงเรียนพาณิชยการเอเซียได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย มาเป็นประธาน ในการเปิดป้ายอาคารเรียนเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2541 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ตามใบอนุญาตเลขที่ กว 175/2541 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2541ต่อมาปีการศึกษา 2554 เปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอเซีย" ชื่อภาษาอังกฤษ "Asia Vocational College" ตามใบอนุญาตเลขที่ กว 767/2554 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2554 เปิดทำการสอนประเภทวิชาธุรกิจระดับ ปวช. ปวส.หลักสูตรของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ ระดับชั้น ปวช. เปิดทำการเรียนการสอน 3 สาขา ดังนี้ 1.สาขางานการบัญชี 2.สาขางานการขาย 3.สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ส่วนระดับชั้นปวส. เปิดทำการเรียนการสอน 3 สาขา ดังนี้ 1.สาขางานการบัญชี 2.สาขางานการตลาด 3.สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ พ.ศ.2547 โรงเรียนฯได้รับอนุญาตให้เพิ่มหลักสูตร ปวช. และ ปวส. ประเภทอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว รับนักเรียน ชาย - หญิง หยุดเรียนวันอาทิตย์กำหนดความจุไม่เกิน 1,260 คน โดยมี นายประยูร รินธนาเลิศ นายกสมาคมฮากกา แห่งประเทศไทย (ชุดที่ 56 - 57)เป็นผู้ลงนามแทนในตำแหน่งผู้รับใบอนุญาต สำนักงานบริหารงานคณะกรรมการ กรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนอนุญาตให้เปิดทำการสอนตั้งแต่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 และในปีการศึกษา 2554 โรงเรียนได้ขออนุญาตเปิด หลักสูตรระบบทวิภาคี สาขาวิชาโลจิสติกส์ ระดับ ปวส.
ระดับปวส.
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ
ประวัติวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 88 สุขุมวิท 73 แขวงพระโขนง เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10260 มีเนื้อที่ 6 ไร่ 90 ตารางวา
24 พฤษภาคม 2522 ณ อาคารเลขที่ 88 สุขุมวิท 73 ได้ก่อกำเนิดสถาบันอาชีวศึกษาขึ้น ชื่อว่า "กรุงเทพธุรกิจพณิชยการ" โดย ท่านอาจารย์อุดม แสงหิรัญ และ ท่านอาจารย์พิศมัย แสงหิรัญ มีความมุ่งมั่นที่จะให้การศึกษาและการฝึกอบรมเยาวชนของชาติ ให้มีความรู้ และความสามารถในแขนงอาชีวศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานนำไปประกอบอาชีพ และ ค้นคว้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เป็นบุคคลที่อยู่ในสังคมได้ดี มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม เปิดสอนประเภทวิชาพาณิชยกรรม ระดับ ปวช. แผนกบัญชี การขาย เปิดเรียนภาคเช้า ปีแรก เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น มีนักเรียนรุ่นแรก 175 คน โดยมีครูประจำ 10 ท่าน และ ครูพิเศษ 5 ท่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น