วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประวัติการศึกษา

ระดับปวช.

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอเซีย


ประวัติวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอเซีย

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอเซีย ตั้งอยู่เลขที่ 288 หมู่ที่ 1 ซอยพัฒนาชนบท 4 ถนนร่มเกล้า แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10540 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอเซีย เริ่มจากความคิดริเริ่มของคณะกรรมการสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทยที่ได้เล็งเห็นความสำคัญ ต่อการพัฒนาการศึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของเยาวชนของชาติ คณะกรรมการสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย จึงมีแนวความคิดที่จะจัดตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษา เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพ เพื่อให้มีการพัฒนาสังคมในอนาคต
ในปี ค.ศ.1995 (พ.ศ.2538)คณะกรรมการบริหารสมาคมโดยมีนายมงคลมหกิจไพศาล เป็นนายก ได้นำวัตถุประสงค์ดังกล่าวจัดทำเป็นโครงการและกำหนดแผนงานอย่างชัดเจนโดยเริ่มจากมูลนิธิ มหกิจไพศาลได้มีหนังสือแสดงความจำนงบริจาคที่ดินในเขตถนนร่มเกล้า 1เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ จำนวน 4 ไร่ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2538 เพื่อมอบให้สมาคมฯ ทำการก่อสร้างเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษา เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 3 กรกฏาคม 2539 และดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยในวันที่ 28 ตุลาคม 2541 ใช้เวลาก่อสร้าง 848 วัน ตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 6 ชั้น รวมเนื้อที่ก่อสร้างทั้งหมด 12,923 ตารางเมตร ใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนพณิชยการเอเซีย"
โรงเรียนพาณิชยการเอเซียได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย มาเป็นประธาน ในการเปิดป้ายอาคารเรียนเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2541 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ตามใบอนุญาตเลขที่ กว 175/2541 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2541ต่อมาปีการศึกษา 2554 เปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอเซีย" ชื่อภาษาอังกฤษ "Asia Vocational College" ตามใบอนุญาตเลขที่ กว 767/2554 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2554 เปิดทำการสอนประเภทวิชาธุรกิจระดับ ปวช. ปวส.หลักสูตรของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ ระดับชั้น ปวช. เปิดทำการเรียนการสอน 3 สาขา ดังนี้ 1.สาขางานการบัญชี 2.สาขางานการขาย 3.สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ส่วนระดับชั้นปวส. เปิดทำการเรียนการสอน 3 สาขา ดังนี้ 1.สาขางานการบัญชี 2.สาขางานการตลาด 3.สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ พ.ศ.2547 โรงเรียนฯได้รับอนุญาตให้เพิ่มหลักสูตร ปวช. และ ปวส. ประเภทอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว รับนักเรียน ชาย - หญิง หยุดเรียนวันอาทิตย์กำหนดความจุไม่เกิน 1,260 คน โดยมี นายประยูร รินธนาเลิศ นายกสมาคมฮากกา แห่งประเทศไทย (ชุดที่ 56 - 57)เป็นผู้ลงนามแทนในตำแหน่งผู้รับใบอนุญาต สำนักงานบริหารงานคณะกรรมการ กรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนอนุญาตให้เปิดทำการสอนตั้งแต่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 และในปีการศึกษา 2554 โรงเรียนได้ขออนุญาตเปิด หลักสูตรระบบทวิภาคี สาขาวิชาโลจิสติกส์ ระดับ ปวส.

ระดับปวส.


วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ



ประวัติวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ


 สถานที่ตั้ง
เลขที่ 88 สุขุมวิท 73 แขวงพระโขนง เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10260 มีเนื้อที่ 6 ไร่ 90 ตารางวา
          24 พฤษภาคม 2522 ณ อาคารเลขที่ 88 สุขุมวิท 73 ได้ก่อกำเนิดสถาบันอาชีวศึกษาขึ้น ชื่อว่า "กรุงเทพธุรกิจพณิชยการ" โดย ท่านอาจารย์อุดม แสงหิรัญ และ ท่านอาจารย์พิศมัย แสงหิรัญ มีความมุ่งมั่นที่จะให้การศึกษาและการฝึกอบรมเยาวชนของชาติ ให้มีความรู้ และความสามารถในแขนงอาชีวศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานนำไปประกอบอาชีพ และ ค้นคว้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เป็นบุคคลที่อยู่ในสังคมได้ดี มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม เปิดสอนประเภทวิชาพาณิชยกรรม ระดับ ปวช. แผนกบัญชี การขาย เปิดเรียนภาคเช้า ปีแรก เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น มีนักเรียนรุ่นแรก 175 คน โดยมีครูประจำ 10 ท่าน และ ครูพิเศษ 5 ท่าน 

สาระน่ารู้เกี่ยวกับไอที


ข่าวไอทีวันนี้


หลังจากที่ทาง Microsoft ได้ปล่อย Windows 10 Mobile ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติเวอร์ชั่นล่าสุดของ 

Windows Phone ที่มีการออกแบบใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการใช้งาน ลูกเล่นและฟังก์ชั่นต่างๆ 

มากมาย รวมถึงชื่่อของระบบปฏิบัติการที่แตกต่างไปจากเดิม ทำให้หลายคนสนใจและอยากรู้

ว่า Windows 10 Mobile เวอร์ชั่นล่าสุดนี้ จะมีลูกเล่นและคุณสมบัติใหม่ๆ อะไรบ้าง ทางไทยแวร์จึงได้

ทำ Thaiware Infographic ฉบับที่ 27  "คุณสมบัติใหม่ๆ ที่น่าสนใจของ Windows 10 

Mobile"  นี้ มาสรุปให้ได้ชมกัน

infogrphic_25_08_2015_windowsMobile1011

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สิ่งที่ชื่นชอบ


 10 สายพันธุ์แมวยอดนิยมในไทย

 10 สายพันธุ์แมวยอดนิยมในไทย

 10 สายพันธุ์แมวยอดนิยมในไทย

1. แมวเปอร์เซีย (Persian)

          ราชินีแมวจากแดนตะวันออกกลาง ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเปอร์เซีย หรือประเทศตุรกีกับอิหร่านในปัจจุบัน แมวเปอร์เซียถือเป็นแมวต่างประเทศสายพันธุ์แรกที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย สิ่งที่ทำให้แมวสายพันธุ์นี้ยังคงเป็นที่นิยมในหมู่คนรักแมวก็เพราะว่า นอกจากจะมีหน้าตาน่าเอ็นดูแล้ว ขนปุกปุยของแมวเปอร์เซียยังมีสีสันที่หลากหลาย และนิสัยส่วนตัวก็น่ารักด้วย

           ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมของแมวเปอร์เซีย

          แมวเปอร์เซีย เป็นแมวที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีกระดูกที่ใหญ่และแข็งแรง หัวและหน้ากลม หน้าผากโหนก แก้มเต็ม ดวงตากลมโต และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน มีจมูกที่หัก กล่าวคือ สังเกตได้ชัดเจนเมื่อมองจากด้านข้างจะเห็นจุดหักระหว่างจมูกกับหน้าผากชัดเจน เมื่อมองจากด้านหน้าจะเห็นเป็นขีดอยู่ระหว่างดวงตา

          นอกจากหน้าตาที่น่ารักแล้ว ยังเป็นแมวที่มีอุปนิสัยอ่อนโยน เข้ากับคนอื่นได้ง่าย มีความร่าเริงซุกซน ปีนป่ายไปตามจุดต่าง ๆ เพื่อหาของมากัดเล่น ช่างประจบประแจง และเป็นแมวที่มีไหวพริบมากทีเดียว

          
 การเลี้ยงดูแมวเปอร์เซีย

          เมื่อตัดสินใจจะเลี้ยงแมวพันธุ์นี้แล้ว จงพึงระลึกไว้เสมอว่า การดูแลขนของแมวเปอร์เซียเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ผู้เลี้ยงต้องหมั่นทำความสะอาด โดยการแปรงและสางขนแมวอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันการเกิดขนพันกัน ซึ่งอาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค รวมทั้งพยาธิต่าง ๆ ที่จะเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบและเป็นที่อยู่ของเห็บหมัดอีกด้วย

          ส่วนในเรื่องของอาหารการกินนั้น ควรเลือกอาหารที่ช่วยให้ทางเดินอาหารของแมวไม่อุดตัน เนื่องจากแมวเปอร์เซียจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเลียทำความสะอาดขน อันเป็นสาเหตุในการกินหรือกลืนเส้นขนเข้าไปเป็นจำนวนมาก หากเส้นขนไปรวมตัวกันในช่องท้อง จะทำให้แมวเปอร์เซียมีอาการสำรอกหรือเกิดปัญหาของระบบย่อยอาหารได้

10 สายพันธุ์แมวยอดนิยมในไทย

10 สายพันธุ์แมวยอดนิยมในไทย

 2. แมวอเมริกัน ชอร์ตแฮร์ (American Shorthair)

         แมวสายพันธุ์อเมริกาที่สืบเชื้อสายมาจากประเทศในแถบยุโรป และแพร่พันธุ์มายังอเมริกา เมื่อสมัยที่ชาวยุโรปเดินทางไปแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่ โดยพวกเขาได้นำแมวอเมริกันชอร์ตแฮร์ ติดเรือไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้หนูทำลายข้าวของ และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ในเวลาต่อมา จนกระทั่งกลายเป็นแมวพื้นเมืองขนสั้นของอเมริกาไปในที่สุด

          
 ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมของแมวอเมริกัน ชอร์ตแฮร์

         สำหรับรูปร่างของแมวอเมริกัน ชอร์ตแฮร์ มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ โครงสร้างลำตัวโต มีกล้ามเนื้อแข็งแรง มองเห็นชัดเจน อกใหญ่ ขาใหญ่ ใบหูมีขอบเป็นทรงกลมมน ส่วนหัวมีลักษณะรูปไข่ ดวงตากลมโตเป็นสีเขียวมรกต มีลักษณะสีขน และรูปร่างมากกว่า 80 แบบ

         ส่วนอุปนิสัยของอเมริกัน ชอร์ตแฮร์ พบว่า เป็นแมวที่ช่างสงสัย นิสัยร่าเริง ชอบเล่น มีเสน่ห์ แต่จะฝึกค่อนข้างยาก ดังนั้นหากเป็นไปได้ เจ้าของควรจะคลุกคลีและอยู่กับแมวให้มาก ๆ

           
 การเลี้ยงดูแมวอเมริกัน ชอร์ตแฮร์

         ปัญหาของแมวพันธุ์อเมริกันขนสั้นส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อราและเป็นหวัดง่าย ถ้าหากเจ้าของให้การดูแลไม่ดีก็จะเลี้ยงลำบาก ฉะนั้นเจ้าของควรพาแมวไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนเป็นประจำ ส่วนปัญหาเรื่องขนร่วงมีน้อยมาก โดยจะร่วงเฉพาะในช่วงเวลาผลัดขนปีละ 2 ครั้งเท่านั้น


 3. แมวสก็อตติช โฟลด์ (Scottish Fold)

          Susie เป็นแมวพันธุ์สก็อตติช โฟลด์ ตัวแรกที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1961 ที่ประเทศสก็อตแลนด์ แต่ในตอนนั้นยังไม่มีใครทราบชื่อสายพันธุ์ที่แท้จริง เนื่องจากลักษณะของ Susie มีใบหูพับ และยังมีใบหน้าที่คล้ายกับนกฮูก ซึ่งหลังจากที่ Susie ให้กำเนิดลูกแมวน้อยหูพับ 2 ตัว William Ross ชายเลี้ยงแกะ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบคนแรกก็ได้นำลูกแมวตัวเมียไปเลี้ยง หลังจากที่ลูกแมวตัวนั้นโตขึ้น จึงนำไปผสมพันธุ์กับ บริติช ชอร์ตแฮร์ จนกลายเป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์นี้ และได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องที่รับรองโดย The Governing Council of the Cat Fancy ของประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1966

           
 ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมของแมวสก็อตติช โฟลด์

          แมวสายพันธุ์นี้แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบขนสั้นกับแบบขนยาว โดยทั้ง 2 แบบจะมีลักษณะตัวกลม หัวกลม มีช่วงคอสั้น ดวงตากลมใหญ่ และมีหูตั้งตรงขนาดกลาง ไปจนถึงหูพับขนาดเล็กที่มีมุมพับกว้าง ปลายหูส่วนใหญ่จะกลม หูของลูกแมวจะเริ่มพับในช่วง 2-3  อาทิตย์แรก จมูกสันโค้งกว้างรับกับดวงตา ซึ่งบางตัวมีปากโค้งได้รูปรับกับคางพอดี จึงเป็นที่มาของสมญานามว่า Smiling Cat หรือ แมวยิ้ม นั่นเอง

          แมวพันธุ์สก็อตติช โฟลด์ เป็นแมวที่ไม่ค่อยส่งเสียง และชอบทำกิจกรรมในระดับปานกลาง พวกมันชอบที่จะเล่น เฉพาะเวลาที่มีเจ้าของมาร่วมเล่นด้วย บางตัวอาจไม่ชอบนอนบนตัก โดยเลือกที่จะอยู่ใกล้ ๆ กับเจ้าของแทน

          
 การเลี้ยงดูแมวสก็อตติช โฟลด์

         การดูแลแมวสก็อตติช โฟลด์ ค่อนข้างง่าย แค่หมั่นแปรงขน 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์สำหรับแบบขนสั้น แต่อาจจะต้องเพิ่มการดูแลมากขึ้นหากเลือกที่จะเลี้ยงแบบขนยาว โดยเฉพาะบริเวณใบหูของแมว ควรหมั่นทำความสะอาดบ่อยครั้ง พอ ๆ กับการแปรงขน และโดยทั่วไป แมวพันธุ์นี้ส่วนใหญ่มีร่างกายที่ค่อนข้างสมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีเรื่องอะไรที่น่าเป็นห่วงนัก



 4. แมววิเชียรมาศ (Siamese)

          แมวไทยที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดีในชื่อ Siamese Cat หรือ แมวสยาม หนึ่งในต้นตระกูลของแมวไทยที่ถูกนำไปปรับปรุงจนเกิดแมวไทยอีกหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งตามตำนานสมุดข่อยได้กล่าวไว้ว่า หากใครได้เลี้ยงแมววิเชียรมาศ จะได้เป็นขุนนาง เพราะถือว่าแมววิเชียรมาศเป็นแมวลาภ อีกทั้งในอดีตยังเป็นแมวที่เลี้ยงกันในวังเป็นส่วนใหญ่ด้วย

           ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมของแมววิเชียรมาศ

         เนื่องจากแมววิเชียรมาศเป็นแมวที่มีแต้มสีน้ำตาลเข้ม 9 จุดอยู่บนตัว ได้แก่ ที่ปลายเท้าทั้งสี่ ปลายหูทั้งสอง ปลายหาง บนจมูก และที่อวัยวะเพศ ดังนั้นจึงถูกคนเข้าใจผิดบ่อย ๆ ว่า เป็นแมวเก้าแต้ม แต่ที่จริงแล้ว แมวเก้าแต้มเป็นชื่อของแมวไทยอีกชนิดหนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

         ทั้งนี้ ไม่ว่าจะนำแมววิเชียรมาศไปผสมกับแมวพันธุ์อะไรก็ตาม ก็จะได้สีแต้มตามแบบ แต่แตกต่างกันในเรื่องของรูปร่างและอุปนิสัย อีกทั้งเมื่ออายุมากขึ้น สีแต้มก็จะเข้มขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้อาจจะมีสีแต้มที่แปลกแยกออกไป เช่น แต้มสีเทา สีแดง และสีกลีบบัว

          ส่วนอุปนิสัยของแมววิเชียรมาศก็คล้ายคลึงกับแมวไทยทั่วไป คือ มีความฉลาด คล่องแคล่ว ปราดเปรียวเหมือนกับรูปร่าง มีความเป็นตัวของตัวเองสูง แต่ก็สุภาพเรียบร้อย แม้ว่าภายนอกของแมววิเชียรมาศจะดูรักสันโดษ แต่ความจริงแล้วกลับไม่ชอบอยู่ตามลำพัง ดังนั้นมันจึงเป็นแมวขี้อ้อน ประจบประแจงเก่ง

           
 การเลี้ยงดูแมววิเชียรมาศ

          ตอนกลางวันควรให้แมวอยู่อย่างอิสระในบ้านหรือนอกบ้านก็ได้ ตอนกลางคืนควรขังรวมกันไว้ในกรง กรงแมวต้องมีขนาดใหญ่ การเลี้ยงแมวในบ้าน แมวจะชอบขับถ่ายในที่ที่มีกลิ่นเหม็นหรือเป็นจุดอับ หากต้องการให้แมวขับถ่ายเป็นที่เป็นทาง ควรเตรียมกระบะทรายไว้ในบ้านด้วย แต่ที่ต้องระวังคือแมวตัวผู้ที่โตแล้ว มักจะขับถ่ายไม่เลือกที่




 5. แมวโคราช (Korat)

          แมวพันธุ์นี้มีชื่อเรียกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น แมวมาเลศ แมวดอกเลา หรือแมวสีสวาด เป็นหนึ่งใน 17 แมวมงคลของไทย ที่ได้รับพระราชทานชื่อมาจาก สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 5 ตามแหล่งกำเนิดของแมวพันธุ์นี้ ซึ่งพบใน อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ชื่อเสียงของแมวโคราชโด่งดังไปทั่วโลก หลังจากชนะเลิศงานประกวดประจำปีที่สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1966

          
 ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมของแมวโคราช

          ลักษณะของแมวโคราชจะมีขนเรียบ โคนขนสีเทาขุ่น ๆ ส่วนปลายขนเป็นสีเงินประกายคล้ายหยดน้ำค้างบนใบบัว หรือผมหงอก และเป็นสีเช่นนี้ตลอดทั้งตัวตั้งแต่หัวจรดปลายหาง สำหรับใบหน้าหากมองดูจากด้านหน้าจะเห็นเป็นรูปหัวใจ หน้าผากใหญ่และแบน หูตั้ง ปลายหูมน โคนหูใหญ่ สำหรับแมวตัวผู้บริเวณหน้าผากจะมีรอยหยักทำให้เห็นเป็นรูปหัวใจเด่นชัดมากขึ้น ผิวหนังที่บริเวณจมูกและริมฝีปาก จะเป็นสีเงินหรือม่วงอ่อน

          
 การเลี้ยงดูแมวโคราช

          โดยปกติแล้วแมวโคราชจะมีอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 10-15 ปี ซึ่งวิธีการดูแลเหมือนแมวไทยทั่วไป แต่ควรใส่ใจเรื่องการถ่ายพยาธิและการฉีดวัคซีนมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการฉีดวัคซีน 3 ชนิดต่อปีให้ครบถ้วน ซึ่งประกอบไปด้วย วัคซีนป้องกันหัดแมว ลูคีเมีย และพิษสุนัขบ้า



 6. แมวขาวมณี (Khao Manee)

         สำหรับแมวขาวมณีไม่มีหลักฐานยืนยันที่มาอย่างชัดเจน รู้เพียงว่า เริ่มพบเห็นมากในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีข้อสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นแมวที่ติดมากับเรือสำเภาของพ่อค้าจีน ที่เลี้ยงไว้จับหนูบนเรือ แต่เนื่องจากสีขาวเป็นสีที่ดูสะอาดและเป็นสีมงคลสำหรับคนไทย ดังนั้นแมวขาวมณีจึงกลายเป็นแมวบ้านนับจากนั้นเป็นต้นมา และที่สำคัญแมวพันธุ์นี้ยังเป็นแมวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดปรานเป็นพิเศษด้วย

          
 ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมของแมวขาวมณี

          เอกลักษณ์ของแมวขาวมณี นอกจากจะมีขนสีขาวปลอดทั่วทั้งตัวแล้ว นัยน์ตาทั้ง 2 ข้างของแมวขาวมณียังแตกต่างไปจากแมวไทยพันธุ์อื่น โดยมีทั้งนัยน์ตาสีฟ้า สีเหลืองอำพัน และตา 2 สี ลักษณะมาตรฐานของแมวขาวมณี หัวจะต้องกลมใหญ่คล้ายรูปหัวใจ จมูกสั้น หูตั้งใหญ่ โคนหางใหญ่ แต่มีปลายแหลมชี้ตรง และต้องเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว ส่วนเสน่ห์ของแมวขาวมณีนั้น นอกจากขนสีขาวเนียนสนิท มันยังเป็นแมวที่ช่างประจบประแจง ขี้อ้อน ชอบเข้ามาคลอเคลีย และจะคอยสังเกตเจ้าของตลอด ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็ตาม

          
 การเลี้ยงดูแมวขาวมณี

          ส่วนมากมักจะนิยมเลี้ยงแมวขาวมณีแบบเป็นคู่ เพื่อให้พวกมันพลัดกันเลียขนเพื่อทำความสะอาด แมวพันธุ์นี้เป็นแมวเชื่อง และเชื่อฟังคำสั่งเจ้าของ จึงเหมาะกับการเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนแก้เหงาได้ดีเลยทีเดียว




 7. แมวบริติช ชอร์ตแฮร์ (British Shorthair)

          แมวท้องถิ่นสายพันธุ์เก่าแก่ที่สุดบนเกาะอังกฤษ ซึ่งเล่ากันว่าบรรพบุรุษของพวกมันมาจากแมวที่ชาวโรมันเอามาเลี้ยงเมื่อ 2,000 ปีก่อน และเป็นแมวที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในประเทศต้นกำเนิดและประเทศอื่น ๆ แถบยุโรปจนถึงยุคปัจจุบัน เนื่องจากมันเป็นแมวที่มีความเฉลียวฉลาด จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฝึกสัตว์ เพื่อใช้ในการโฆษณาทางโทรทัศน์หรือเข้าฉากในภาพยนตร์ของฮอลลีวูด

          
 ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมของแมวบริติช ชอร์ตแฮร์

         แมวบริติช ชอร์ตแฮร์ เป็นแมวที่มีลักษณะกะทัดรัด สมดุลดี แข็งแรง หน้าอกเต็มและกว้าง ขาสั้น อุ้งเท้ากลม หางหนาและกลม หัวกลมรับกับใบหูขนาดเล็ก คอสั้น แก้มยุ้ย คางหนา ดวงตากลมโต จมูกค่อนข้างสั้น ขนหนาและสั้น มีอายุเฉลี่ยประมาณ 15-20 ปี

         ส่วนอุปนิสัยของแมวพันธุ์นี้ค่อนข้างนิ่งสงบกว่าแมวพันธุ์อื่น ๆ เดาทางได้ง่าย เนื่องเป็นมิตรกับผู้คนรวมถึงสัตว์ชนิดอื่น ๆ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่าย ดังนั้นจึงไม่ค่อยพบเห็นแมวสายพันธุ์นี้ส่งเสียงรบกวน แสดงอาการก้าวร้าว หรือทำลายสิ่งของให้เห็น

          
 การเลี้ยงดูแมวบริติช ชอร์ตแฮร์

         แมวบริติช ชอร์ตแฮร์เป็นแมวที่ดูแลง่าย แต่ควรเลี้ยงในบ้าน นอกจากนี้บริติช ชอร์ตแฮร์ อาจเป็นแมวที่มีพัฒนาการการเจริญเติบโตช้าอยู่สักหน่อย แต่ความสมบูรณ์และความสวยงามของมันจะอยู่คู่กับแมวไปตลอดเกือบชั่วอายุขัยเลยทีเดียว



 8. แมวเอ็กโซติก (Exotic)
          แมวหน้าบูด จมูกหัก แต่น่ารักไม่แพ้ใคร เพราะสืบเชื้อสายมาจากแมว 2 สายพันธุ์ ระหว่างแมวเปอร์เซียกับแมวอเมริกัน ช็อตแฮร์ จนกลายมาเป็นแมวเอ็กโซติก หลากหลายรูปแบบ อาทิ  Exotic Blue Tabby, Exotic Red Tabby, Exotic Cream Tabby เป็นต้น

          
 ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมของแมวเอ็กโซติก

          ลักษณะทั่วไปของแมวเอ็กโซติกเหมือนกับแมวเปอร์เซียทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะหัวกลม กะโหลกใหญ่ ใบหูเล็กกลม จมูกหักเล็กน้อย ยกเว้นเส้นขนสั้น ๆ ที่หนานุ่มคล้ายกับกำมะหยี่ อันเป็นสัญลักษณ์ของแมวสายพันธุ์นี้

          ส่วนเรื่องอุปนิสัยก็แทบไม่มีแตกต่างจากแมวเปอร์เซียเลย เพราะแมวเอ็กโซติกเป็นแมวที่ซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ ไม่ค่อยหงุดหงิด และมีความอดทนสูง ดังนั้นคุณแทบจะไม่ได้ยินเสียงร้องของแมวพันธุ์นี้แน่นอน หากมันต้องการความสนใจขึ้นมา ก็จะทำแค่นั่งอยู่หน้าคุณ กระโดดมานั่งบนตัก หรือเอาจมูกชื้น ๆ ของมันมาแตะที่หน้าคุณเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า แมวพันธุ์เอ็กโซติกบางตัวอาจจะชอบนั่งอยู่บนไหล่และกอดคุณเวลาคุณเล่นด้วย

          
 การเลี้ยงดูแมวเอ็กโซติก

          ใครที่อยากเลี้ยงแมวสายพันธุ์ต่างประเทศ แต่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลขน แมวพันธุ์เอ็กโซติกก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะมันเป็นแมวที่เหมาะกับการเลี้ยงไว้ในบ้าน ที่สำคัญขนอันสวยงามของแมวพันธุ์นี้ ยังต้องการการบำรุงรักษาน้อยกว่าแมวเปอร์เซียทั่ว ๆ ไป เพราะไม่ค่อยจับตัวเป็นก้อนหรือพันกันยุ่งเหยิงอีกด้วย



 9. แมวเมนคูน (Main Coon)
          ถึงแม้แมวเมนคูนจะมีร่างกายที่ใหญ่โตกว่าแมวปกติ แต่มันกลับเป็นพี่ใหญ่ใจดี จนได้รับสมญานามว่า Gentel Giant ชื่อของแมวสายพันธุ์นี้ มีที่มาจากรัฐเมน (Maine) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของมัน ส่วนคำว่า คูน (Coon) มาจากคำบอกเล่าของชาวพื้นเมืองที่กล่าวว่า แมวบ้านเผลอไปกุ๊กกิ๊กกับตัวแรคคูน (Raccoon) จนมีการจับ 2 คำนี้มารวมกัน กลายเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันทั่วไปว่า เมนคูน (Main Coon)

          
 ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมของแมวเมนคูน

          ลักษณะเด่นของแมวพันธุ์เมนคูน คือ รูปร่างที่สมส่วน ดูสง่างาม และให้ความรู้สึกที่มั่นคงแข็งแรง หากเป็นแมวโตเต็มที่ ร่างกายของมันจะมีความยาวตั้งแต่หัวจรดปลายหางประมาณ 1 เมตร น้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 12-15 กิโลกรัม ถึงแมวเมนคูนจะมีโครงสร้างใหญ่ ใบหน้าเหมือนกับแมวป่า มีแผงคอคล้ายสิงโต แถมบริเวณปลายหูยังมีเส้นขนงอกออกมา แต่มันกลับมีนิสัยขี้อ้อน ขี้เล่น ร่าเริง ตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยเจริญพันธุ์

           
 การเลี้ยงดูแมวเมนคูน

          อายุขัยของแมวพันธุ์อยู่ที่ราว ๆ 15 ปี เหมือนแมวทั่วไป แต่เนื่องจากร่างกายที่ค่อนข้างใหญ่โต การให้อาหารแบบแมวทั่วไปอาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ดังนั้นเจ้าของควรเสริมด้วยเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ เพื่อช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้กับมัน

          ส่วนขนของแมวเมนคูนค่อนข้างหวีง่าย เนื่องจากเป็นแมวกึ่งขนยาว จึงไม่มีปัญหาขนพันกันแบบแมวเปอร์เซีย เพียงแต่ควรจะอาบน้ำให้มันอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง และหลังการอาบน้ำทุกครั้ง ควรจะเช็ดพร้อมกับเป่าขนให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันโรคเชื้อราบนผิวหนัง



 10. แมวเบงกอล (Bengal)

          แมวเบงกอลเป็นแมวที่มีลวดลายสวยงาม คล้ายลูกเสือดาวตัวน้อย ๆ คาดกันว่า แมวเบงกอลเกิดจาการผสมพันธุ์ระหว่างแมวดาวกับแมวบ้านสายพันธุ์อียิปต์เชียนมัวร์ (Egyptian Mau) ซึ่งเป็นแมวอียิปต์โบราณ ที่มีโครงสร้างเป็นลายจุด ลักษณะคล้ายแมวป่า โดยถูกนำมาพัฒนาสายพันธุ์ ด้วยฝีมือของ Jean Mills หญิงสาวชาวอเมริกัน ที่หลงใหลคลั่งไคล้ในลวดลายของแมวป่า พร้อมกับตั้งชื่อของมันตามชื่อวิทยาศาสตร์ของแมวป่าที่เรียกกันว่า Felis Bengolensis

          
 ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมของแมวเบงกอล

          แมวเบงกอลเป็นแมวขนาดปานกลางถึงค่อนข้างใหญ่ หัวมีความยาวมากกว่าความกว้าง  เช่นเดียวกับรูปร่างที่มีลักษณะเพรียวยาว เห็นมัดกล้ามเนื้อชัดเจนคล้ายแมวป่า เมื่อมองจากด้านข้างจะเห็นว่า ช่วงสะโพกมีความสูงกว่าหัวไหล่ ปลายหางชี้ลง ใบหูกลมสั้น ตารูปไข่ มีช่วงปากกับจมูกกลมกว่าแมวบ้าน และมีจุดเด่นอยู่ที่ลายขนคล้ายแมวป่า หรือที่เรียกกันว่า ลายหินอ่อน

          ถึงแม้แมวเบงกอลจะสืบสายพันธุ์มาจากแมวป่า แต่พวกมันกลับมีนิสัยน่ารักไม่ดุร้ายอย่างที่คิด แถมยังเป็นมิตรกับทุกคนเสียด้วย นอกจากนี้แมวเบงกอลยังเป็นแมวที่ซุกซน เพราะชอบวิ่งไล่สิ่งของต่าง ๆ รวมทั้งชอบปีนป่ายขึ้นที่สูงอยู่เป็นประจำ ที่สำคัญแมวพันธุ์นี้ชอบเล่นน้ำเอามาก ๆ ด้วย

          
 การเลี้ยงดูแมวเบงกอล

          การเลี้ยงดูแมวเบงกอลก็เหมือนกับการดูแลแมวทั่วไป แต่ถ้าอยากให้มันมีสุขภาพดีและมีขนที่สวยงาม ควรใส่ใจในเรื่องอาหารเป็นพิเศษ โดยต้องเพิ่มเมนูเนื้อวัวสดจากอาหารที่กินเป็นประจำ ซึ่งเนื้อสดที่ให้ก็ต้องผ่านการเก็บรักษาด้วยการแช่แข็ง เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรากับแบคทีเรีย และห้ามให้เนื้อไก่หรือเนื้อหมูโดยเด็ดขาด